วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ให้นักเรียนค้นคว้าในเรื่องต่อไปนี้ แล้วตอบลงในบล็อกของนักเรียน




1. กฎหมาย คืออะไร?
ตอบ      "กฎหมาย เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐ  ั ซึ่งอยู่ในรัฐหรือในประเทศของตน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมประพฤติปฏิบัติตามก็จะมีความผิดและต้องถูกลงโทษด้วย

2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง?
ตอบ    1. กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดขึ้นจากรัฎฐาธิปัตย์
           2. กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไปกับคนทุกคนที่อยู่ในเขตรัฐหรือในประเทศนั้น ๆ
           3. กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป
           4. กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม
           5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ


3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?
ตอบ     1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบเรัยบร้อยแก่สังคมและประเทศชาติ 
เมื่อ ทุกคนรู้และปฎิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องแล้วย่อมไม่เกิดปัญหา และข้อพิพาทระหว่างกันสังคมยอมเป็นระเบียบและมีความสุขอันจะเป็นผลดีต่อประเทศสืบต่อไป 
            2. การบริหารราชการแผ่นดินและการปกครองบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  
 ประเทศ ใดประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจและปฎิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดก็จะทำให้การ บริหารประเทศเป็นไปด้วยดี และมีส่วนทำให้มีการพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ดังตัวอย่างเช่น  เมื่อประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของตนที่มีต่อประเทศชาติก็จะสา มารถปฎิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างครบถ้วน เช่นหน้าที่ในการป้องกันประเทศ   หน้าที่ในการเสียภาษี   หน้าที่ในการเป็นทหารรับใช้ชาติ    เป็นต้น
 
         3. สังคมจะสงบสุขเมื่อทุกคนปฎิบัติตามกฎหมาย  
และ รู้ว่าตนมีสิทธิของตนอยู่เพียงไร  ไม่ไปล่วงล้ำสิทธิของผู้อื่น  ถ้าทุกคนปฎิบัติตามขอบเขตของกฎหมาย  ก็จะไม่การทะเลาะวิวาทกัน  เช่นทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการพูด  การเขียน  แต่ต้องปฏิบัติตนอยู่ในขอบเขต  ไม่ดูหมินเหยียดหยามผู้อื่นเพราะอาจทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันได้
        4. กฎหมายสร้างความเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์  
เพราะ กฎหมายจะมีข้อบังคับแก่ทุกคน  ดังนั้นไม่ว่า    ใครก็ตามที่ประพฤติผิดกฎหมาย  หรือถูกผู้อื่นเอาเปรียบ  ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีฐานะร่ำรวย  ฐานะยากจน หรือเป็นผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานระดับสูงเพียงใดก็ตามไม่สามารถที่จะ หลีกเลี่ยงกฎหมายได้  ต้องรับโทษตามความผิด  
        5. กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่สำคัญ เพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรม
ใน กรณีที่เกิดการกระทบกระทั่งกันขึ้น  มีการฟ้องร้องคดีกัน  เพื่อขอความยุติธรรมจากศาล  ศาลก็ต้องตัดสินโดยยึดตัวบทกฎหมายเป็นหลักในการพิจารณาคดี  เพื่อให้ทุกคนได้รับความยุติธรรมเท่าเทียมกัน




4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?
 ตอบ     กฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก ยังอาจแบ่งย่อยได้อีกหลายลักษณะ ตามหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
   กฎหมายภายใน แบ่งได้หลายลักษณะตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
    1.ใช้เนื้อหาของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์การแบ่ง
 แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1.1กฎหมายลายลักษณ์อักษร
 ได้แก่ ตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่บัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยองค์กรที่มีอำนาจตามกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติต่าง ๆ ฯลฯ เป็นต้น
    1.2กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณีต่าง ๆ ที่นำมาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่มาของกฎหมาย ซึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยก็มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรค 2 ว่า “เมื่อไม่มีบทกฎหมายใดที่จะยกมาปรับแก้คดีได้ท่านให้วินิจฉัยคดีนั้นตามคลอง จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น”
    2.ใช้สภาพบังคับกฎหมายเป็นหลักในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ

    2.1กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ได้แก่ กฎหมายต่าง ๆ ที่มีโทษตามบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา เช่น ประมวลกฎหมายอาญาพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติรับราชการทหาร ฯลฯ เป็นต้น
    2.2กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง 
สภาพบังคับทางแพ่งมิได้มีบัญญัติไว้ชัดเจนเหมือนสภาพบังคับทางอาญาแต่ก็อาจสังเกตได้จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การบังคับชำระหนี้ การชดใช้ค่าเสียหาย หรืออาจสังเกตได้อย่างง่าย ๆ คือ กฎหมายใดที่ไม่มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญา ก็ย่อมเป็นกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
    
3.ใช้บทบาทของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ

     3.1กฎหมายสารบัญญัติ
 ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงการกระทำต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของความผิดโดยทั่วไปแล้วกฎหมายส่วนใหญ่ จะเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
    3.2กฎหมายวิธีสบัญญัติ
 ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการที่จะนำกฎหมายสารบัญญัติไปใช้ว่าเมื่อมีการทำผิดบท บัญญัติกฎหมาย จะฟ้องร้องอย่างไร จะพิจารณาตัดสินอย่างไร พูดให้เข้าใจง่าย ๆ กฎหมายวิธีสบัญญัติก็คือ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการเอาตัวผู้กระทำผิดไปรับสภาพบังคับนั่นเองเช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกฎหมายวิธีพิจารณาความในศาลแขวงกฎหมายวิธีพิจารณา คดีเยาวชนและครอบครัว เป็นต้น
    4.ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
    4.1กฎหมายเอกชน ได้แก่กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนด้วยกัน โดยที่รัฐไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด เป็นต้น

    4.2กฎหมายมหาชน
ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนในฐานะที่รัฐเป็นผู้ ปกครองจงต้องมีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร หรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความต่าง ๆ เป็นต้น
    กฎหมายภายนอก กฎหมายภายนอก หรือกฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
   1.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
 ได้แก่ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐที่จะปฏิบัติต่อกันเมื่อมี ความขัดแย้งหรือเกิดข้อพิพาทขึ้น เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ หรือได้แก่ สนธิสัญญา หรือเกิดจากข้อตกลงทั่วไป ระหว่างรัฐหนึ่งกับรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐที่เป็นคู่ประเทศภาคีซึ่งให้สัตยาบัน ร่วมกันแล้วก็ใช้บังคับได้เช่น สนธิสัญญาไปรษณีย์สากล เป็นต้น
    2.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
 ได้แก่ บทบัญญัติที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลรัฐหนึ่งกับอีกรัฐหนึ่งเมื่อ เกิดความขัดแย้งข้อพิพาทขึ้นจะมีหลักเกณฑ์วิธีการพิจารณาตัดสินคดีความอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน เช่น ประเทศไทยเรามีพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกับแห่งกฎหมาย ซึ่งใช้บังคับกับบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในประเทศอื่น ๆ
 

    3.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
ได้แก่ สนธิสัญญา หรือข้อตกลงเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาซึ่งประเทศหนึ่งยินยอมหรือ รับรองให้ศาลของอีกประเทศหนึ่งมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีและลงโทษบุคคลประเทศ ของตนที่ไปกระทำความผิดในประเทศนั้นได้ เช่นคนไทยไปเที่ยวสหรัฐอเมริกาแล้วกระทำความผิด ศาลสหรัฐอเมริกาก็พิจารณาตัดสินลงโทษได้หรือบุคคลประเทศหนึ่งกระทำความผิด แล้วหนีไปอีกประเทศหนึ่ง เป็นการยากลำบากที่จะนำตัวมาลงโทษได้ จึงมีการทำสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อให้ประเทศที่ผู้กระทำความผิดหนีเข้าไปจับตัวส่งกลับมาลงโทษ ซึ่งถือว่าเป็นการร่วมมือกันปราบปรามอาชญากรรม ปัจจุบันนี้ประเทศไทยทำสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนกลับ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม และอิตาลี ฯลฯ เป็นต้น
 

5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?
ตอบ    ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
  1. รัฐธรรมนูญ
  2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
  3. พระราชบัญญัติ
  4. พระราชกำหนด
  5. พระราชกฤษฎีกา
  6. กฎกระทรวง
  7. กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ     ที่มาของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
      1.กฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นระบบที่สืบทอดมาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งให้ความสำคัญกับตัวบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยถูกต้องตามกระบวนการ บัญญัติกฎหมาย ดังนั้นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ก็คือกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจมีหลายลักษณะด้วยกัน เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เป็นต้น

      2.จารีตประเพณี
 ในบางครั้งการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร จะให้ครอบคลุมทุกเรื่องเป็นไปได้ยาก จึงต้องมีการนำเอาจารีตประเพณีมาบัญญัติใช้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรด้วย เช่น การชกมวยบนเวที ถ้าเป็นไปอย่างถูกต้องตามกติกา ถึงแม้ว่าคู่ต่อสู้จะบาดเจ็บหรือเสียชีวิตก็ไม่มีความผิด หรือแพทย์ที่ตัดแขนตัดขาคนไข้โดยที่คนไข้ยินยอมก็ไม่มีความผิด เป็นต้น เท่าที่ผ่านมายังไม่มีการฟ้องร้องคดีเรื่องเหล่านี้เลย ซึ่งคงจะเป็นเพราะจารีตประเพณีที่รู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นเสมือนกฎหมาย
     3.หลักกฎหมายทั่วไป
 ในบางครั้งถึงแม้จะมีกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายจารีตประเพณี มาใช้พิจารณาตัดสินความแล้วก็ตาม แต่ก็อาจไม่เพียงพอครอบคลุมได้ทุกเรื่อง จึงต้องมีการนำเอาหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งประเทศอื่น ๆ ที่มีความก้าวหน้าทางกฎหมายได้ยอมรับกฎหมายนั้นแล้วมาปรับใช้ในการพิจารณาตัดสินคดีความด้วย เช่น หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้รับโอน โจทย์พิสูจน์ไม่ได้ต้องปล่อยตัวจำเลย คดีอย่างเดียวกันต้องพิพากษาตัดสินเหมือนกัน ฯลฯ เป็นต้น

7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ        ที่มาของกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
       1.จารีตประเพณี
ถือ ว่าเป็นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเนื่องจากกฎหมายระบบนี้เกิดจากการนำเอาจารีตประเพณี ซึ่งคนในสังคมยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมานาน มาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ

       2.คำพิพากษาของศาล
จารีต ประเพณีใดที่ถูกนำมาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความแล้วก็จะกลายเป็นคำพิพากษาของศาล ซึ่งคำพิพากษาบางเรื่องอาจถูกนำไปใช้เป็นหลักหรือเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาตัดสินคดีความต่อ ๆไปคำพิพากษาของศาลจึงเป็นที่มาอีกประการหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
       3.กฎหมายลายลักษณ์อักษร
 ในสมัยต่อ ๆมาบ้านเมืองเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว การที่จะรอให้จารีตประเพณีเกิดขึ้นย่อมไม่ทันกาลบางครั้งจึงจำเป็นต้องสร้างกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมาใช้ด้วย
       4.ความเห็นของนักนิติศาสตร์ 
ระบบ กฎหายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ยังยอมรับความเห็นของนักนิติศาสตร์มาใช้เป็นหลักในการตัดสินคดีความด้วย เพราะนักนิติศาสตร์เป็นผู้ที่ศึกษากฎหมายอยู่เสมอเป็นผู้ที่มีความรู้ ความคิด มีเหตุผล ความเห็นของนักนิติศาสตร์ที่มีชื่อเสสียงและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ย่อมมีน้ำหนักพอที่จะนำไปใช้อ้างอิงในการพิจารณาตัดสินความได้
       5.หลักความยุติธรรมหรือมโนธรรมของผู้พิพากษา
 ในระยะหลังที่บ้านเมืองเจริญขึ้นสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป การใช้จารีตประเพณีและคำพิพากษาก่อน ๆ มาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความอาจไม่ยุติธรรม จึงเกิดศาลระบบใหม่ขึ้น ซึ่งศาลระบบนี้จะไม่ผูกมัดกับจารีตประเพณีหรือคำพิพากษาของศาลเดิม แต่จะยึดหลักความยุติธรรมและให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณีซึ่งเรียกว่ามโนธรรม ของผู้พิพากษา(Squity)ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมาย ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?
ตอบ   4 ระบบ คือ  1. ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) 
                              2. ระบบกฎหมายกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) 
                               3. ระบบกฎหมายประเทศสังคมนิยม (Socialist Law)
                               4. ระบบกฎหมายศาสนา (Religion Law)

9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?
ตอบ    1. ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) 

10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?
ตอบ    องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ
           1. ประชากร รัฐทุกรัฐจะต้องมีประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายและมีประโยชน์ร่วมกัน จำนวนประชากรของแต่ละรัฐอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ จะต้องมีประชากรดำรงชีพอยู่ภายในขอบเขตของรัฐนั้น

          2. ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนอันแน่นอนของรัฐนั้น กล่าวคือ มีเส้นเขตแดนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั้งโดยข้อเท็จจริงและโดยสนธิสัญญา ทั้งนี้รวมถึงพื้นดิน พื้นน้ำและพื้นอากาศ

         3. อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถดำเนินการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองภายในและภายนอก

         4. รัฐบาล รัฐบาลคือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครองประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่สาธารณะสนองเจตนารมย์ของสาธารณชนในรัฐ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของรัฐ

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา สมัยที่2


ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโอบามา ชนะการ

เลือกตั้งประธานาธิปดี สมัยที่ 2


โอบามา ชนะการเลือกตั้งประธานาธิปดี สมัยที่ 2
โอบามา ชนะการเลือกตั้งประธานาธิปดี สมัยที่ 2

นับคะแนนระทึกศึกปธน.สหรัฐ โอบามาVSรอมนีย์
เมื่อวันที่ 7 พ.ย. บีบีซีรายงานบรรยากาศการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ว่า ในช่วงเที่ยงคืนตามเวลาสหรัฐ หรือตรงกับเช้ามืดของประเทศไทย คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งตามมลรัฐต่างๆ เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการนับคะแนน ซึ่งเป็นคะแนนที่นับจากคณะผู้เลือกตั้ง เรียกว่า อิเลกทอรัล คอลเลจ (electoral college) ผู้ที่จะเป็นตัวแทนประชาชนไปเลือกประธานาธิบดี มีทั้งหมด 538 เสียง ดังนั้นผู้ชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีที่กำคะแนนคณะผู้เลือกตั้งนี้ถึง 270 เสียง จะถือเป็นผู้ชนะ
 เวลา 11.16 น. ตามเวลาไทย  NBC ประกาศ โอบามา ชนะการเลือกตั้ง
เวลา 11.15 น. ตามเวลาไทย ผลเลือกตั้ง โอบามา 275 รอมนีย์ 203 คะแนน 
เวลา 11.00 น. ตามเวลาไทย โอบามามีคะแนนนำรอมนีย์ห่างออกไปที่ 244 ต่อ 178 เสียง ซึ่งหากได้คะแนนที่รัฐฟลอริดา จะเหมือนหลักประกันเข้าสู่เส้นชัย
เวลา 10.35 น. ตามเวลาไท โอบามายังนำด้วยคะแนน 172 ต่อ 163 เสียง ผู้สนับสนุนรอมนีย์เริ่มเครียด หลังโอบามาได้รัฐนิวแฮมป์เชอร์ และวิสคอนซิน ส่วนที่ฟลอริดา คะแนนสูสีมาก หลังนับไป 90% โอบามามี 49.9 รอมนีย์ ได้ 49.3
เวลา 10.00 น. ตามเวลาไทย โอบามาแซงไปนำด้วยคะแนน 157 ต่อ 153 เสียง
เวลา 09.00 น. รอมนีย์แซงโอบามา ด้วยคะแนน 153 ต่อ 123 เสียง โดยทั้งสองฝ่ายต่างคว้าคะแนนในฐานที่มั่นของพรรคในสนามเลือกตั้งตามที่คาดการณ์ไว้ และต้องรอลุ้นคะแนนในรัฐที่คะแนนสูสี พร้อมจะพลิกได้ทุกเมื่อ
ต่อมาเวลา 08.30 น. ตามเวลาไทย รอมนีย์มีคะแนนไล่ตามมาติดๆ โอบามานำอยู่เพียง 77 ต่อ 76 เสียง
เข้าสู่ชั่วโมงต่อมา หรือ 08.00 น. ตามเวลาไทย โอบามาไล่แซงไปอยู่ที่ 57 ต่อ 40 เสียง
ช่วงชั่วโมงแรก หรือตรงกับ 07.00 น. ตามเวลาไทย มิตต์ รอมนีย์ ผู้ท้าชิงจากพรรครีพับลิกัน คว้าคะแนนนำก่อน 33 เสียง รวมถึงคะแนนที่รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย ขณะที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา จากพรรคเดโมแครต ได้ 3 เสียง
ด้านซีเอ็นเอ็นรายงานผลเอ็กซิตโพล ในรัฐนอร์ท แคโรไลนา รอมนีย์และโอบามาต่างมีคะแนนเท่าๆ กันที่ร้อยละ 49 ส่วนเอ็กซิตโพลที่รัฐโอไฮโอ รัฐที่มักเป็นคะแนนหลักในการตัดสินผู้ชนะ โอบามานำรอมนีย์ร้อยละ 51 ต่อ 48
ที่มา มติชนออนไลน์:http://news.tlcthai.com/news/64024.html